Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Bitcoin and Cryptocurrency

สาเหตุการล่มสลายของ FTX | Blue O’Clock Podcast EP. 23

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา กระดานเทรด crypto อันดับที่สองของโลกนามว่า FTX ได้ประกาศล้มละลายต่อสาธารณะชน ทำให้ตลาดคริปโตเลือดสาดกันเป็นแถบ ๆ ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ที่ก่อนหน้านี้ก็มีเหตุการณ์การ การล่มสลายของ Terra เหรียญ LUNA ไปก่อนหน้านี้ แต่ครั้งก่อนเหรียญมันล่ม แต่คราวนี้คือ Exchange หรือกระดานเทรด ซื้อขายคริปโตอันดับสองของโลกล่ม

โดย Patrick Boyle ก็เล่าว่า ในช่วง 1 ปีที่แล้วที่ผ่านมานั้น ทาง Sam Bankman Fried เคยบอกกับสื่อมวลชนว่าสักวันหนึ่งเขาหวังว่าจะซื้อ Goldman Sachs ที่เป็นสถาบันการเงินเก่าแก่ยักษ์ใหญ่ของโลก

แน่นอนว่า ผู้คนที่อยู่ในบริษัท Goldman Sach ก็คงจะดีใจ ที่ได้ยินเรื่องนี้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวที่ Sam เขาเคยพูดเอาไว้นั้นคือในเดือนกรกฎาคม ปี 2021 ที่ตลาด crypto กำลังร้อนแรง

โดย Sam Bankman Fried นั้นก็คือผู้ก่อตั้งและ ceo คือเจ้าของกระดานเทรดคริปโตฯ นามว่า FTX ที่ได้ประกาศล้มละลายไปแล้ว แถมยังมีข่าวว่า พนักงานภายในบริษัทได้ยักยอกเงินของลูกค้าทั้งหมดไปอีกด้วย

และนอกจานั้น เขายังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Alameda Research ซึ่งเป็นกองทุนป้องกันความเสี่ยง crypto ที่ล้มละลายในขณะนี้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่า ณ ตอนนี้เว็บไซต์ขึ้นสถานะ private ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งบริษัทที่อยู่ในเครือหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับ FTX ตามรายงาน ว่ามีบริษัทในเครือประมาณ 130 แห่ง ที่พวกเขาอ้างถึงในเอกสารการยื่นฟ้องล้มละลาย

โดยหากเรานำไปเปรียบเทียบกับในช่วงปี 2008 ที่เกิดวิกฤต subprime mortgage crisis ที่เกิดจากธนาคาร Lehman Brothers ซึ่งเป็น Global Investment Bank ที่มีอายุมากกว่า 150 ปี นั้น ก็มีโครงสร้างเกี่ยวข้องหลายสิบบริษัท ที่ในเวลาต่อมาพอธนาคารล้มละลาย เศรษฐกิจทั่วโลกก็ล้มป็นโดมิโนตามมา

โดยบริษัท Alameda Research ของ Sam Bankman Fried นั้นก็ยังถูกกล่าวหาว่าได้นำเงินของลูกค้าจากกระดานเทรด FTX ราว ๆ 8,000 – 10,000 ล้านดอลลาร์ฯ ไปใช้ โดยใช้เหรียญ FTT ก็คือเหรียญของ FTX ไปค้ำประกัน

โดย Sam ทำได้แค่เพียงออกมาขอโทษบน Twitter ว่า “เขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้”

โดยเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้บริษัท FTX ถูกประเมินมูลค่าบริษัทโดยนักลงทุน VC อยู่ที่ 32,000 ล้านดอลลาร์ฯ และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าบริษัทจะได้ไร้ค่าไปเรียบร้อยแล้วในวันนี้ มันล้มละลายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ซึ่งการที่ FTX ออกโทเค็นหรือเหรียญที่เรียกว่า FTT ที่ เหรียญนี้อาจดูเหมือนเป็นหุ้นของบริษัท FTX แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

เพราะถ้ามันเป็นเหมือนหุ้นหรือเป็นหลักทรัพย์แล้วล่ะก็ บริษัท FTX ก็จะมีปัญหากับ SEC หรือ กลต. ของทางสหรัฐฯ ในทันที

ดังนั้น เหรียญ FTT ก็จะทำหน้าที่คล้ายกับแต้มสะสมไมล์ของสายการบิน ที่หากคุณซื้อโทเค็นเหล่านี้ คุณจะไม่ได้รับสัดส่วนการถือหุ้นหรือการรับประกันการจ่ายดอกเบี้ยจากบริษัท FTX แต่อย่างใด

แต่สิ่งที่คุณจะได้รับก็คือ สิทธิพิเศษต่าง ๆ ในกระดานเทรดบน FTX เช่น ส่วนลดในการเทรด

และทางกระดาน FTX ก็ได้มีนโยบายที่จะใช้ผลกำไรส่วนหนึ่ง นำมาเพื่อซื้อโทเค็น FTT คืน โดยการกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้ราคาเหรียญ FTT มีมูลค่าสูงขึ้นเหมือนหุ้น

ดังนั้นถ้า FTX สามารถทำกำไรได้มากขึ้น เหรียญ FTT เหล่านี้ก็จะถูกซื้อคืนมากขึ้น แล้วก็หวังว่าการกระทำดังกล่าว จะผลักดันราคาเหรียญ FTT ให้สูงขึ้น

ดังนั้นราคาเหรียญ FTT คือการเดิมพันขึ้นอยู่กับผลกำไรของบริษัท FTX ในระดับหนึ่ง (เหมือนหุ้นที่ถ้าผลประกอบการของบริษัทดี ก็มักจะส่งผลให้ราคาของหุ้นนั้นปรับตัวขึ้นสูงตามไปด้วย)

แต่อย่าลืมว่าเหรียญ FTT เป็นเพียงแค่ Token ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้นบริษัท FTX เพราะหุ้นของบริษัท FTX เจ้าของหุ้นตัวจริง ก็เป็นของพวกนักลงทุนอย่าง Sequoia, Tiger Global Management, The Ontario Teachers’ Pension Plan และ Softbank ต่างหาก

ส่วน Alameda Research กองทุน Hedge Fund ที่มี CEO สาวอายุเพียง 28 ปีนั่งคุมบังเหียน ที่ดูทรงแล้วเธอน่าจะเป็นแฟนคลับตัวยงของนวนิยายอย่าง Harry Potter นั้น ถูกประเมินว่าน่าจะมีสินทรัพย์ราว ๆ 14,600 ล้านดอลลาร์ฯ ในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา โดยสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดมีมูลค่าราว ๆ 3,700 ล้านดอลลาร์ ก็คือเจ้า เหรียญ FTT ที่ปลดล็อคแล้ว และสินทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามก็คือเหรียญ FTT ประเภทที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำระกันมูลค่าอีก 2,200 ล้านดอลลาร์ฯ  รวมไปถึงเหรียญ FTT ที่ถูกล็อคเอาไว้ ซึ่งรวม ๆ แล้วทำให้เวลาแสดงงบดุลด้านหนี้สิน ก็จะเป็นสินเชื่อที่มีมูลค่ากว่า 7,400 ล้านดอลลาร์ฯ 

ดังนั้นนี่แหละคือปัญหา เนื่องจากเหมือนกับบริษัท ใช้ทุนของตนเองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ หากบริษัทดำเนินการได้ไม่ดี กำไรน้อยลง และมูลค่าเหรียญ FTT ราคาตกลง ทำให้มูลค่าของหลักประกันที่เอาไปค้ำเอาไว้เพื่อดึงเงินกู้ออกมานั้นต่ำลง ทำให้ต้องหาเงินทุนมาเติมหลักประกันให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้วหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่ใช้เหรียญ FTT นั้นก็จะต้องถูก liquidate หรือถูกบังคับให้ขายทิ้ง ซึ่งนั่นคือหายนะของบริษัท

ซึ่งถ้ามองในมุมของการบริหารความเสี่ยง ผู้จัดการความเสี่ยงส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นสิ่งนี้ ว่ามันไม่ควรเอาเหรียญของบริษัทตัวเองไปค้ำประกันแบบนั้น เพราะเหรียญ FTT มันถูกเสกขึ้นมาจาก 0 แต่กลับดันเอาไปค้ำประกันได้แล้วสามารถดึงเงินดอลล่าร์เอาออกมาใช้อย่างมหาศาล

และความเสี่ยงที่สูงขนาดนี้ แต่หัวหน้าฝ่ายบริหารความเสี่ยงของ FTX ที่ป็นวัยรุ่น ที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารความเสี่ยงแค่เพียงสองปี มาคอยทำหน้าที่นี้นั้นกลับมองไม่เห็น

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เอาวัยรุ่นที่มีประสบการณ์น้อยมาก มาดูแล Alameda Research ที่เป็นกองทุนระดับหมื่นล้านนั้น มันดูไม่น่ารอดตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

และด้วยการที่ ใช้เหรียญ FTT ที่เสกขึ้นมาจากอากาศ ในการใช้ค้ำประกันนั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่สเกียรอยู่แล้ว

ซึ่งถ้าดูจากเคสของ Terra เหรียญ LUNA นั้น ก็ใช้เหรียญที่ตัวเองเสกมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเช่นกัน พอราคาเหรียญ LUNA มันตกฮวบ ทุกอย่างก็พังลง

และเมื่อมีข่าวออกมาว่างบดุลของบริษัท Alameda น่าจะเข้าข่ายล้มละลาย ได้หลุดไปถึงมือ Changpeng Zhao หรือที่เรียกกันในวงการว่า CZ ที่เป็นผู้ก่อตั้งกระดาน Binance เขาก็ได้การประกาศบน Twitter ว่าเขาจะเทขายการถือครองเหรียญ FTT ของเขาทิ้ง ที่เขาได้เหรียญ FTT มาในช่วงที่เคยเข้าไปลงทุนในช่วงก่อตั้งบริษัทใหม่ของ FTX ซึ่งเขาได้เหรียญ FTT มาเป็นจำนวนมาก จากการขายหุ้นบริษัท FTX ทิ้ง ซึ่งไอ้จำนวนเหรียญ FTT ที่ CZ ถือครองอยู่นั้น เรียกได้ว่าเป็นระดับวาฬตัว Top 10 เลยทีเดียว

ซึ่งโดยปกติคนทั่ว ๆ ไป จะไม่ประกาศการขายเหรียญครั้งใหญ่ล่วงหน้าแบบ CZ เพราะจะทำให้ตนนั้นได้กำไรน้อยลง

แต่ด้วยความที่อาจจะมาจากการที่ทาง Sam ได้เคย Tweet บน Twitter ในลักษณะว่า “มันช่างน่าตื่นเต้นจริง ๆ ถ้าได้เห็น CZ เป็นผู้นำพาอุตสาหกรรมคริปโตฯ นี้ก้าวไปข้างหน้า แต่….ว่าแต่ว่า CZ เขาได้รับอนุญาตให้ไปเข้าร่วมงานที่ Washington DC กับคนอื่น ๆ ด้วยเหรออออ”

อารมณ์ประมาณว่า ทาง SAM ไปมี something อะไรบางอย่างกับทางการสหรัฐฯ เพื่อหาผลประโยชน์ใส่ตน และแอบร่วมมือกับทาง ทางการ เพื่อแทงข้างหลัง CZ ก็เป็นได้ ทั้ง ๆ ที่ CZ อุตส่าห์เคยให้ทุนจัดตั้งบริษัท FTX รุ่นแรกแท้ ๆ

และการประกาศขายของ CZ แบบสาธารณะล่วงหน้าที่มีมูลค่าสูงถึง $584 ล้านดอลล่าร์ฯ นั้น จึงส่งผลทำให้ราคาของเหรียญ FTT ดิ่งลงอย่างหนัก และจากนั้นเหล่าบรรดาเทรดเดอร์ที่อยู่บนกระดานเทรดของ FTX ก็รีบถอนตัวทันที เพราะกลัวว่าบริษัทจะล่มสลาย

ดังนั้นยิ่งมีคนแย่งกันขายเหรียญ FTT มาก ก็ยิ่งกันกดราคาให้เหรียญต่ำลงเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว และนั่นก็ส่งผลให้บริษัท Alameda Research ที่รับเหรียญ FTT จากบริษัท FTX ในการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นยิ่งมีปัญหา เพราะอย่างที่บอกไปตอนต้นว่า มันจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อราคาเหรียญ FTT มีราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาของเหรียญ FTT ตกต่ำลงก็เป็นอันจบข่าว

โดยที่เผลอ ๆ CZ ไม่ได้สนใจมูลค่าของเหรียญ FTT ที่อยู่ในมือเขาเลยซะด้วยซ้ำ แต่อยากจะสอนมวยให้กับ SAM ซะมากกว่า

ลองนึกภาพเป็นธนาคารปกติ เมื่อผู้คนนำเงินไปฝากธนาคาร ทางธนาคารก็จะนำเงินของผู้ฝากไปปล่อยกู้ต่อเกือบทั้งหมด แล้วจู่ ๆ มาวันหนึ่ง ผู้คนก็ตกใจกลัว และแห่กันไปถอนเงินจากธนาคารเป็นจำนวนมาก สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ธนาคารจะเอาเงินสดที่ไหนจ่าย เพราะเงินส่วนใหญ่เอาไปปล่อยกู้เกือบหมด

และเช่นกัน แทนที่ทางบริษัท FTX จะมีเงินสดหรือเงินฝากของลูกค้าไปเพิ่มสภาพคล่องให้กับกระดานเทรด ที่มีการแห่กันขาย แห่กันถอนเงินออกจากกระดาน แต่ดันมีไม่พอ นั่นก็อาจจะตีความได้ว่า ทางบริษัท FTX อาจจะส่งฝากของลูกค้าไปให้ทาง Alameda Research เพื่อพยุ่งราคาเหรียญ FTT อยู่ก็เป็นได้

และนอกจากนั้นทาง SAM ก็ยังได้ลงทุนในเหรียญอย่าง SOL และเหรียญ ETH เอาไว้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ต้องเทขายทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อมาเพิ่มสภาพคล่องให้กับกระดานเทรด นั่นมันจึงทำให้ราคาของเหรียญ crypto อื่น ๆ ในตลาดตกลงหนักด้วยเช่นกัน

ซึ่งในเวลาต่อมาหลังจากที่ CZ ประกาศจะเทขายเหรียญ FTT ทิ้ง นั้น ก็ได้มีข่าวว่าทางจะทำการเข้าซื้อกิจการของ FTX

และพอผ่านไปแค่เพียงวันเดียวหลังจากประกาศว่าจะซื้อ สุดท้ายทาง Binance ก็ประกาศว่าจะไม่ซื้อ FTX อีกต่อไป “อันเป็นผลมาจากการตรวจสอบสถานะขององค์กร” หรืออาจจะพูดในอีกทางหนึ่งได้ว่า เมื่อดูหลังบ้านของบริษัท FTX แล้วนั้น การงงการเงิน ความโปร่งใสนั้น น่าจะเกินเยียวยา 

เพราะถ้าหากปัญหาที่ FTX เป็นเพียงปัญหาในเรื่องของสภาพคล่อง ในทางทฤษฎีแล้วนั้น อาจมีใครบางคนเข้ามาช่วยเหลือสถานการณ์ได้ ในเรื่องของการเงิน แต่ันมีเรื่องของความไม่โปร่งใสเข้ามาด้วยนี่แหละ

ซึ่งเหตุการณ์การขาดสภาพคล่องก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงปี 2008 ในช่วงวิกฤตซับไพรม์

ที่ทาง Warren Buffett ได้ควักเงินลงทุนกับทาง Goldman Sachs ที่กำลังมีปัญหาการขาดเงินสด โดยบริษัท Berkshire Hathaway ของปู่ ก็ได้ทำการเข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ด้วยมูลค่ากว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ฯ โดยความพิเศษของหุ้นบุริมสิทธิ์นั้นก็คือ มันทำให้เขามีสภานะเป็นเจ้าหนี้มากกว่าเป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นสามัญ

เพราะถ้าหากบริษัท Goldman Saches เกิดไม่ฟื้นและล้มละลายขึ้นมา ผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

แต่ก็รอด และทาง Goldman Sachs ก็ได้ทำการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์คืนจาก Warren Buffett ทำให้ปู่เขาสามารถทำกำไรได้มากกว่า $1,700 ล้านดอลล่าร์ฯ ไปเหนาะ ๆ ในเวลาแค่เพียง 3 ปี ที่นับจากวันที่เข้าลงทุน

และนอกจากนั้น Warren Buffett ยังได้รับเงินปันผล 10% และยังได้รับสิทธิ์ในการเข้าซื้อหุ้นสามัญได้ในราคา 115 ดอลลาร์ฯ ต่อหุ้น เพิ่มอีก 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปัจจุบันเมื่อราคาหุ้นของ Goldman Sachs มีราคาสูงขึ้น ปู่ก็ขายทำกำไรจากหุ้นสามัญได้อีกอย่างมากมายอีกรอบ

โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ได้เคยรายงานว่าทางบริษัท FTX ให้ยืมเงินที่เป็นเงินฝากของลูกค้า แก่ Alameda Research หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการล่มสลายของบริษัท Three Arrows Capital และ Voyager ที่ได้รับผลกระทบจากการล่มสลายของ Terra เหรียญ LUNA

และตลาด crypto ที่ผ่านมา พวกเราก็ได้เห็นความเสียหายจากการล่มสลายของ Terra LUNA กันไปแล้ว แต่นั่นมันแค่เหรียญ

ในขณะที่ FTX คือกระดานเทรดอันดับสองของโลก ที่มีบริษัทที่เชื่อมโยงอยู่ภายใต้ร่มเงาเดียวกันอีกกว่า 130 บริษัท จะเกิดอะไรขึ้นกับตลาด crypto บ้าง และหนักแค่ไหนไม่มีใครรู้ได้

ดังนั้น จงมีสติ มีวินัยในการลงทุน มีแผนการลงทุน มีระบบในการลงทุน อย่าโลภ จัดการบริหารความเสี่ยงให้ดี เพราะเงินของคุณ คุณต้องดูแลกันเอาเอง และนี่ไม่ใช่คอนเท้นต์ในการแนะนำให้ใครไปลงทุน

ซึ่งถ้าหากมีข้อมูลส่วนใดผิดพลาด ตกหล่น ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ สามารถแจ้งได้ที่คอเม้นท์ใต้คลิปวีดีโอนี้ได้เลยครับ

Resources