Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

How to

วิธีเตรียมรับมือในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตลาดใกล้พัง by Patrick Bet-David EP.2

Patrick Bet-David บอกว่า CEO ในบริษัทที่อยู่ใน Fotune 500 จำนวนกว่าร้อยละ 75 นั้น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สภาวะเศรษฐกิจถดถอย(Recession) กำลังมาเยือนแล้ว

อย่างเมื่อไม่นานมานี้ที่ทาง Elon Musk ก็เคยออกมาประกาศในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมาว่า บริษัท Tesla จะทำการเตรียมเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนราว ๆ 10% อีกด้วย

แต่ไม่ว่าเศรษฐกิจมันจะพังหรือไม่นั้น มันไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นที่ Pat ต้องการจะสื่อก็คือ ไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะถดถอย ตลาดโลกจะพังลง หรือไม่ก็ตามที เราก็ควรที่จะต้องหาวิธีเตรียมรับมือกับสภาวะดังกล่าว

ซึ่งถ้ามันไม่เกิดก็ดีไป แต่ถ้ามันเกิดเราก็จะได้เตรียมรับมือได้ทันท่วงที มันก็เหมือนกับการที่เราซื้อประกันชีวิตเอาไว้นั่นแหละ เราซื้อมันไม่ใช่เพราะว่าเรากะจะเสียชีวิตพรุ่งนี้สักกะหน่อย

หรือการที่เราสะสม emergency fund หรือเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้ในธนาคารนั้น มันก็ไม่ได้หมายถึงว่า สถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวนั้นจะมาถึงสักกะหน่อย

เพราะการที่เราทำแบบนั้น ก็เพราะ ‘เผื่อเอาไว้ก่อน’ เผื่อว่าจะเกิดสภาวะฉุกเฉิน เผื่อว่าจะเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ เผื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

คำถามที่สำคัญก็คือ ถ้าเศรษฐกิจถดถอย ถ้าตลาดหุ้นพังลง เราเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วหรือยัง?

ทีนี้ มาดูความหมายของคำว่า Recession กับ Market Crash กันบ้าง

โดย Pat เริ่มต้นที่ความหมายของ Recession ว่ามันคือ สภาวะถดถอยของเศรษฐกิจชั่วคราวในเรื่องของการค้า การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะลดลง และจะส่งผลให้ GDP (Gross Domestic Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ที่นับรายได้ทั้งหมดของทุกสัญชาติที่เกิดขึ้นภายในประเทศ) นั้นลดลงติดต่อกันสองไตรมาส

ทีนี้มาดูความหมายของคำว่า Stock Market Crash กันบ้าง

โดย Pat บอกว่า มันคือ การที่ราคาหุ้นต่าง ๆ ในตลาดหุ้น มีราคาตกลงเป็นอย่างมาก และในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งก็จะส่งผลให้ผู้คนสูญเสียความมั่งคั่งในรูปของ paper หรือในกระดาษเป็นอย่างมาก

ซึ่งมีผลเกิดมาจากการที่ผู้คนในตลาดเกิดการ panic sell หรือตกใจเทขายหุ้นตาม ๆ กัน บวกกับเกิดการเก็งกำไรในช่วงนี้กันเป็นจำนวนมาก และเกิดสภาวะฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ

ซึ่งก็จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็น Market Crash ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นอาจกินเวลาภายในไม่กี่วันหรือภายในหนึ่งเดือน แต่ในขณะที่ Recession นั้น กินเวลายาวนานถึงสองไตรมาสหรือกว่า 6 เดือน

ทีนี้มาดูสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดสภาวะ Recession กันบ้าง

  • บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เลิกกิจการ ปิดตัวลง
  • อัตราการเลิกจ้างงานสูงขึ้น
  • การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ทำได้ยากขึ้น
  • การใช้จ่ายของผู้บริโภคมีอัตราลดลง
  • ตลาดหุ้นตกลง

ซึ่ง Pat ก็ได้อธิบายต่อว่า ในช่วงนี้ก็จะเกิดเหตุการณ์ Stock Market Crash หรือตลาดหุ้นพังครืนลงมาด้วย

โดยเขาได้พยายามบรรยายให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นว่า ในช่วงที่ตลาดหุ้นพังลงนั้น หน้าตาของมันจะเป็นอย่างไร

โดยสมมติว่า หากเรากำลังอยู่ในดงป่าใหญ่ ที่มีต้นไม้น้อยใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่สิ่งที่ต้นไม้น้อยใหญ่ได้ไม่เท่ากันก็คือ ปริมาณแสงแดด ปริมาณน้ำฝน ซึ่งแน่นอนว่า ต้นไม้สูงใหญ่ที่เปรียบเสมือนบริษัทยักษ์ใหญ่นั้น ก็มักจะได้รับปริมาณแสงแดดและปริมาณน้ำฝนได้ดีกว่า ได้เยอะกว่า ต้นไม้เล็ก ๆ ที่อยู่ด้านล่าง ที่แม้ว่าจะได้รับปริมาณน้ำฝนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่แทบจะไม่ได้รับแสงแดดเลยซะด้วยซ้ำ

ดังนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ มักจะได้รับการสนับสนุน ได้รับการช่วยเหลือด้านเงินทุนเป็นจำนวนมาก ที่พวกเขาสามารถใช้เงินดังกล่าว ในการว่าจ้างคนที่เก่ง ๆ คนที่มีความสามารถสูง ๆ เข้ามาทำงานให้กับบริษัทตนเองได้

ในขณะที่บริษัทเล็ก ๆ น้องใหม่นั้น ทำได้ยากมาก

จนกระทั่ง จู่ ๆ ก็เกิดไฟป่าขึ้นมา ซึ่งเป็นไฟป่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันก็เหมือนกับช่วงที่เกิด Market Crash ที่มักจะเกิดขึ้นในทุก ๆ 5-10 ปี เป็นประจำ ถ้านับตั้งแต่ปี 1950 ของตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งถ้าอเมริกาล่ม มันก็มักจะส่งผลกับตลาดโลกอย่างรุนแรงด้วย เพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่ของโลก)

ซึ่งเมื่อเกิดไฟป่า เมื่อเกิดตลาดหุ้นพังลง ก็เป็นธรรมดาที่ผู้คนส่วนใหญ่ก็เกิดการตื่นตระหนก ตกใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว

แต่หลังจากที่ไฟป่าสงบลง ตลาดหุ้นพังลงเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สภาพป่านั้นมันดูแย่มาก แทบไม่เหลือชิ้นดีอยู่เลยแม้แต่น้อย

แต่ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ป่าที่มีทั้งความมืด ทั้งแห้งแล้ง ทั้งเถ้าถ่าน ก็กลับค่อย ๆ เริ่มฟื้นตัว มีพื้นหญ้าเริ่มเขียวขจีขึ้นมาอีกครั้ง

ซึ่งนี่แหละที่ Pat บอกว่า มันคือช่วงที่เหล่าบรรดาผู้คนที่เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว จะลุกขึ้นมาและเติบโตขึ้นมาจากจุด ๆ นี้ได้

ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ ทำไมการเกิดสภาวะ Recession นั้น จึงเป็นเรื่องที่ดี?

  • บริษัทที่ย่ำแย่จะออกจากธุรกิจไป
  • มีพื้นที่ให้บริษัทใหม่ ๆ ได้เติบโตมากยิ่งขึ้น
  • เริ่มต้นช่วงเวลาแห่งการเติบโตในช่วง 1 ทศวรรษต่อจากนี้
  • ไม่มีการโก่งราคาค่าตัวจากคนเก่ง ๆ เหมือนช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งโรจน์ ที่คนเก่งมาก ๆ มักจะขู่บริษัทว่า ถ้ายอมขึ้นค่าแรงให้ พวกเขาจะออกไปทำงานให้กับบริษัทคู่แข่งแทน แต่ในช่วงนี้คนตกงานเยอะแยะเต็มไปหมด แถมยังมีอัตราการจ้างงานที่ต่ำ ดังนั้น แรงงานดี ๆ ค่าแรงสมเหตุสมผลจึงมีให้เลือกเป็นจำนวนมาก ไม่ใช่ค่าตัวแพงแต่สกิลเท่าเดิมอย่างที่เคยเป็นมา

แล้วก็จบกันไปกับ Episode ที่ 2 แล้วมาติดตามกันต่อใน Episode ที่ 3 นะครับ

Resources