Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Bitcoin and Cryptocurrency

Bitcoin คืออะไร by Michael Saylor EP.1

Bitcoin คืออะไร? ใครหลายคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่ามันเอาไว้ใช้ทำอะไร มันเป็นเงินดิจิตอลที่จะมาเปลี่ยนอนาคตทางการเงินใช่หรือไม่ แล้วมันต่างอย่างไรกับ cryptocurrency สกุลอื่น ๆ หรือมันจะมาแทนที่ทองคำที่หลายคนเริ่มให้ฉายามันว่าเป็น Digital Gold มันจะเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีหรือไม่อย่างไร แล้วเราจะสามารถได้รับประโยชน์จากการมาของ bitcoin อย่างไรได้บ้าง

โดยในคอนเท้นต์นี้ทาง Michael Saylor CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Microstrategy บริมหาชนที่มี Bitcoin มากที่สุด ณ ขณะนี้ ที่มี Bitcoin ในครอบครองมากกว่า 1 แสนเหรียญ BTC โดยในปัจจุบันเขามีทรัพย์สินอยู่ที่ $2.3 พันล้านดอลล่าร์ฯ เป็นมหาเศรษฐีอันดับที่ 1362 ของโลก จะมาอธิบายว่า Bitcoin มันคืออะไร

โดย Michael Saylor ได้เริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า “Bitcoin is the first engineered monetary system in the history of the human race full stop.” บิตคอยน์มันเป็นระบบวิศวกรรมทางการเงินแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติโดยสมบูรณ์

โดยการที่จะอธิบายประโยคดังกล่าวได้นั้น เราสามารถหาคำตอบด้วยการเริ่มต้นตั้งคำถามอยู่ด้วยกัน 3 ข้อดังนี้ก็คือ

  1. What is money? – เงินคืออะไร?
  2. What is the problem? – แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร?
  3. What is the solution? – และอะไรคือวิธีในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

ซึ่ง bitcoin คือ solution คือสิ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหา ดังนั้นให้ย้อนกลับไปที่คำถามแรกก่อนว่าจริง ๆ แล้ว ‘MONEY’ คืออะไร?

โดย Michael Saylor ได้บอกว่าระบบเศรษฐกิจนั้นปกติแล้วจะประกอบไปด้วยสองสิ่งก็คือ สินค้าบริการ(good services) กับทรัพย์สิน(property) ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขามีความต้องการซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากคุณ เขาต้องการให้คุณช่วยผลิตสินค้า เขาต้องการจ้างงานคุณ เขาต้องการซื้อบ้านซื้อที่ดินจากคุณ ซึ่งนี่คือส่วนที่เป็นครึ่งเดียวของ economy หรือระบบเศรษฐกิจ ในฝั่งของสินค้าและบริการ

มาดูในด้าน property กันบ้าง ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ แล้วถ้าสมมติว่าเขามีคอกม้าอยู่ในครอบครองแล้วเขาต้องการส่งฝูงม้าจำนวน 37 ตัวให้กับคุณ แล้วเราจะต้องลงบัญชีใน balance sheet หรืองบดุลอย่างไร คำตอบก็คือ คุณก็ต้องส่ง ‘MONEY’ หรือเงินกลับมาให้กับเขาว่าเป็นจำนวนตัวเลขเท่าใด

ดังนั้น MONEY หน้าที่ของมันก็คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสะสมพลังงานสะสมมูลค่าในตัวของมัน เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกันของคนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น หากเขาส่งเมล็ดข้าวโพดให้คุณเป็นจำนวน 10 กระสอบ คุณก็จะต้องส่งเงินให้เขาที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเมล็ดข้าวโพดจำนวน 10 กระสอบนั้น เราถึงจะเริ่มทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันได้

ซึ่งจากประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านของมนุษย์เรานั้น ผ่านการใช้เงินในหลากหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็น การใช้เปลือกหอย การใช้หินศิลาขนาดยักษ์ การใช้ยาสูบ การใช้เหรียญทองแดง การใช้เหรียญเงิน การใช้เหรียญในรูปแบบก้อนหิน การใช้ลูกปัดแก้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เคยถูกใช้เป็น MONEY หรือเงินมาก่อนในอดีต

จนกระทั่งมนุษย์เราก็มาพบกับทองคำและเหรียญทองคำที่ใช้ทำหน้าที่เป็น MONEY แต่ข้อเสียของทองคำก็คือมันเคลื่อนย้ายยาก ส่งมอบช้า เช่น สมมติว่าหากต้องการที่จะย้ายทองคำจำนวน 10 ตัน จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น ค่อนข้างทำได้ยากและขนย้ายได้ช้ามากด้วย ดังนั้นจึงมีเหล่าบรรดาพ่อค้า นายกเทศมนตรีหรือแม้แต่กระทั่งจักรพรรดิ จึงเลือกที่จะจัดทำ Ledger คือบัญชีแยกประเภทขึ้นมาเพื่อบันทึกว่า ใครมีทองคำหรือทรัพย์สินอะไรจำนวนเท่าไหร่บ้าง ซึ่งคุณสามารถหาดูได้จากในยุค Sumerian ที่มีการบันทึกการเทรดสินค้าลงบนแผ่นดินเหนียวเมื่อหลายพันปีมาแล้ว นั่นคือ ledger การบันทึกลงบนบัญชีแยกประเภท

ดังนั้น MONEY มันก็คือการแชร์ข้อมูล ledger ซึ่งกันและกันว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์สินใด อะไร เท่าไหร่บ้างนั่นเอง

ส่วนในทวีปแอฟริกาในสมัยก่อนนั้นมีการนำลูกปัดแก้วมาใช้เพื่อเป็นเงินในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกัน ซึ่งเมื่อชาวยุโรปเดินทางมาเห็นเข้าพวกเขาที่มีความสามารถในการผลิตลูกปัดแก้วได้ ก็กลับไปยังยุโรปเพื่อผลิตลูกปัดแก้วจำนวนมหาศาลแล้วนำไปจับจ่ายใช้สอยบนทวีปแอฟริกาทำให้ชาวแอฟริกาต้องสูญเสียที่ดิน บ้านเรือน ฟาร์ม ปศุสัตว์ และความมั่งคั่งทั้งหมดที่พวกเขามี ทำให้ทวีปแอฟริกานั้นมีความยากจนข้นแค้น เพราะดันไปใช้ลูกปัดแก้วในการเป็น MONEY

หรือตัวอย่างจากหมู่เกาะแยป(Yap)ในอดีตที่มีการใช้หินราย(Rai Stone) ที่เป็นหินขนาดใหญ่มีรูตรงกลาง ในการเป็น ledger เพื่อบันทึกบัญชีแยกประเภท ซึ่งหินดังกล่าวหาได้ยากมากในหมู่เกาะนั้น แต่พอชาวยุโรปเดินเรือมาเห็นเข้า พวกเขาก็ออกไปหาหินดังกล่าวนอกเกาะที่สามารถหาหินได้ง่าย(แหม่…หามาง่ายหยั่งกับผลิตโดนัทกันเลยทีเดียว) แล้วจากนั้นพวกเขาก็เดินเรือเพื่อขนหินดังกล่าวมาใช้เป็นเงินเพื่อซื้อเกาะทั้งเกาะ ทำให้ชาวเกาะตกเป็นทาสการเงิน ส่วนใครไม่จ่ายก็จะถูกขับไล่ออกจากเกาะ ทำให้ระบบการเงินนี้ล่มสลายไปในที่สุด ไม่ต่างจากเคสของลูกปัดแก้วของชาวแอฟริกา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า คนที่ถือครอง Weak Money คือผู้แพ้ และคนที่ถือครอง Strong Money คือผู้ชนะ

และปัญหาของ MONEY ที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วเราจะจดบันทึกติดตามอย่างยุติธรรมอย่างไรได้บ้าง ว่าใครมีทรัพย์สินเท่าไหร่ หรือตรวจสอบอย่างไรได้บ้างว่า ใครแอบผลิตเงินขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมบ้าง

มาดูตัวอย่างปัญหาระดับมหภาคกันบ้าง โดย Michael Saylor ได้สมมติว่า หากระบบเศรษฐกิจหนึ่งมีมูลค่าตลาดทั้งหมดรวมกันได้อยู่ที่ $100 ล้านดอลล่าร์ฯ แล้วเขาก็สร้างเหรียญเพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจนี้เป็นจำนวนเท่ากับระบบนี้คือจำนวน $100 ล้านดอลล่าร์ฯ เช่นกัน แล้วจู่ ๆ วันหนึ่งเขาก็ทำการผลิตเหรียญขึ้นมาเพิ่มจำนวน 10% นั่นหมายถึงจู่ ๆ ทำให้เขามีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเป็น $10 ล้านดอลล่าร์ฯ โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากผลิตเหรียญนั้นออกมา แต่ในขณะที่เหล่าบรรดาคนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจนี้ กลับมี Inflation rate หรือค่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 10% เพราะจำนวนเงินที่ถูกผลิตออกมานั้น มันมีมูลค่ามากกว่ามูลค่าของทั้งตลาด

ซึ่งถ้าหากเขาทำการผลิตเหรียญเพิ่มเป็นสองเท่าตัว ในขณะที่ขนาดเศรษฐกิจยังมีมูลค่าเท่าเดิม จะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น สินค้าหายากขึ้น เพราะเมื่อเงินในระบบมีเยอะขึ้น ผู้คนก็ออกไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ผู้คนมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั่นก็หมายความว่า การผลิตเงินได้ตามใจชอบ โดยที่ระบบเศรษฐกิจไม่ได้เติบโตตามไปด้วยนั้น จะทำให้มูลค่าของเงินสกุลนั้น ๆ เสื่อมค่าลง

โดย Michael Saylor จึงบอกว่า MONEY นั้นคือ Economic Energy คือพลังงานในทางเศรษฐกิจ และปัญหาของเงินก็คือ ‘Inflation’ คือค่าเงินเฟ้อ

ซึ่งเงินเฟ้อนั้น เกิดมาตั้งแต่ในสมัยอดีตกาล จะเห็นได้จากในช่วงยุคโรมันที่ผลิตเหรียญที่ผสมทองคำ แต่ในเวลาต่อมากลับลดจำนวนปริมาณทองคำที่ผสมให้น้อยลง จนกระทั่งไม่หลงเหลือทองคำผสมอยู่ในเหรียญเลย และโดยปกติจักรพรรดิก็จ่ายเงินให้กับเหล่าบรรดาทหารรับจ้างที่รักษาพระองค์อยู่นั้น พวกเขาก็ไม่อยากรับเหรียญที่ไม่มีทองคำผสมเป็นค่าจ้าง เพราะมันทำให้มูลค่าในตัวเหรียญนั้นลดลง นั่นทำให้เหรียญดังกล่าวไม่มีใครต้องการมันอีกต่อไป นั่นก็ทำให้ยุครุ่งเรืองของโรมันนั้นจบลง

ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเงินสกุลใดก็ตามนั้นก็คือ ‘Trust’ คือความเชื่อใจที่ว่าผู้ออกสกุลเงินนั้น ๆ จะไม่ผลิตเงินเองเพิ่มตามใจชอบหรือมีการลดทอนมูลค่าในเงินสกุลดังกล่าวลง ซึ่งในปัจจุบันเราก็จะเห็นได้จากการที่รัฐบาลสหรัฐฯ นั้นมีการปริ้นท์เงินดอลล่าร์ออกมาอย่างมหาศาล และทำให้เกิดค่าเงินเฟ้ออย่างรุนแรง นั่นคือประชาชนให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกับรัฐบาลเพื่อให้พวกเขาเข้ามาบริหารประเทศและออกนโยบายทางการเงินที่ส่งผลให้มูลค่าเงินในกระเป๋าของประชาชนถูกลดทอนมูลค่าของเงินลงไป

โดยมีข้อมูลจาก Saifedean Ammous ผู้เขียนหนังสือ The Bitcoin Standard นั้นได้บอกว่าการคำนวณ Inflation ในยุคใหม่นี้เมื่อถ่วงกับค่าเงินดอลล่าร์แล้วนั้น ตลอดสิบปีล่าสุดที่ผ่านมาทั่วโลกจะมีค่าเงินเฟ้อที่ประมาณ 14% ต่อปี ซึ่งตัวเลขนี้นั้นมันเท่ากับอัตราการเติบโตในดัชนีตลาดหุ้น S&P 500 ที่ตลอดสิบปีล่าสุดนี้นั้นก็มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 14% ต่อปีเช่นกัน นั่นเท่ากับว่าลงทุนในตลาดหุ้นก็แค่เสมอตัวกับค่าเงินเฟ้อที่รุนแรงในยุคปัจจุบัน

คำถามต่อมาก็คือ แล้ว Inflation หรือค่าเงินเฟ้อนั้นมันหมายถึงอะไรกันแน่ ซึ่งคนโดยทั่วไปมักจะรับรู้ค่าเงินเฟ้อในค่า CPI : Consumer Price Index คือดัชนีราคาผู้บริโภค ว่าราคาสินค้าและบริการในตลาดนั้นมีการปรับตัวขึ้นเท่าไหร่ ซึ่งรัฐบาลก็เป็นคนนำเสนอข้อมูลชุดนี้ดังนั้นพวกเขาสามารถเลือกสินค้าบางอย่างที่ไม่มีการปรับราคาสินค้าขึ้นมานำเสนอก็ได้

แต่ถ้าหากลองดูดัชนีอย่าง Case–Shiller index ที่เป็นดัชนีการปรับราคาขึ้นของราคาบ้านในสหรัฐฯ ก็จะพบว่ามันสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 27% หรืออย่างในประเทศ Canada ราคาบ้านปรับสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 15% ดังนั้นมันแล้วแต่ว่าคุณจะเลือกที่จะดูค่า Inflation ในตลาดใดก็ได้แล้วแต่คุณจะเลือกมอง

ซึ่งถ้าหากเขาต้องการเป็นคนรวย เขาก็ต้องเลือกซื้อในสิ่งที่หาได้ยากและสิ่งนั้นมีการปรับตัวของราคาที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ภาพวาด Picasso หรือภาพวาดของ Leonardo Da Vinci, หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ ๆ อย่าง New York City ที่มีค่า Inflation ที่สูง

แต่ถ้าหากเขาอยากเป็นแค่คนธรรมดา ๆ คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ห้องใต้ดินของบ้านคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ที่สามารถอาศัยอยู่ได้ด้วยอาหารพื้น ๆ ไม่ติดหรู ดู Youtube ดู Netflix ไม่ต้องซื้อรถส่วนตัว อาศัยเรียกรถ Uber หรือ Grab เอาแทน ซึ่งค่าสินค้าและบริการในกลุ่มนี้ไม่ได้มีค่า Inflation ที่สูง ราคาปรับขึ้นไม่แรงนัก ซึ่งมันก็จะมีค่าเฉลี่ยพอ ๆ กับที่เห็นในค่า CPI ก็ปรับขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 3%-4% ต่อปี

ดังนั้นในมุมมองของนักลงทุนที่ต้องการที่จะรักษา Purchasing Power หรืออำนาจในการจับจ่ายใช้สอย หรือหากคุณต้องการที่จะรักษาความมั่งคั่งไม่ให้ลดลงหรือต้องการเพิ่มความมั่งคั่งให้มากขึ้นแล้วล่ะก็ คุณจำเป็นต้องเลือกที่จะถือครองทรัพย์สินที่มีการปรับตัวสูงขึ้นในทุก ๆ ปี

ทีนี้มาดูการปริ้นท์เงินดอลล่าร์ที่ออกมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ กันบ้าง ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิด Covid-19 นั้น ทางรัฐบาลสหรัฐฯ มีการปริ้นท์เงินดอลล่าร์เพิ่มเฉลี่ยราว ๆ 10% ต่อปี ตลอดทศวรรษล่าสุด และดัชนี S&P นั้นมีการปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 10% ต่อปี เช่นกัน แต่พอเกิดเหตุการณ์ covid-19 ขึ้น ทางรัฐบาลได้ปริ้นท์เงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้นเป็น 30% และดัชนี S&P ปรับราคาขึ้นเป็น 34% ต่อปี ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นอกจากค่าเงินดอลล่าร์จะถูกลดทอนมูลค่าลงแล้ว ราคาทรัพย์สินดันสูงขึ้นอีกต่างหาก ทำให้ซื้อทรัพย์สินได้ยากเข้าไปใหญ่

ซึ่งถ้าแค่นี้ว่าแย่แล้ว แต่หากไปดูประเทศในกลุ่มแถบอเมริกาใต้อย่างประเทศอาร์เจนตินานั้น อัตราค่าเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการอยู่ที่ 45% ต่อปี และอย่างไม่เป็นทางการอยู่ที่ 85% ต่อปี และอย่างประเทศเวเนซุเอลานั้นค่าเงินได้ลดมูลค่าลงไปกว่า 99% ต่อปีไปแล้ว เรียกได้ว่าเดินไปซื้อกระดาษทิชชู่ม้วนเดียวจะต้องขนเงินไปเป็นตั้งถึงจะพอจ่าย จะเห็นได้ว่าสกุลเงินต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังล่มสลายและพังทลายลง

ดังนั้นหากมีข้อมูลออกมาว่า ค่าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 3%-4% ต่อปี มันไม่เมคเซ็นต์เอาซะเลย เพราะเวลาเราหันไปดูราคาบ้านกลับขึ้นเฉลี่ยปีละ 15%-20% หรือให้คุณลองถามใครก็ได้ในสายการผลิตก็จะพบว่ามีการปรับตัวของราคาสินค้าสูงขึ้นเฉลี่ยราว ๆ 20%-25% ต่อปี แทบทั้งสิ้น

ซึ่งค่า Inflation มันก็เกิดจากการที่รัฐบาลได้ปริ้นท์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก ถ้าถามว่าทำไมพวกเขาถึงต้องปริ้นท์เงินออกมาเป็นจำนวนมากนั่นก็เป็นเพราะ การปริ้นท์เงินมันง่ายกว่าการไปตามเก็บภาษีจากประชาชน ดังนั้นในระหว่างตามเก็บภาษีจากประชาชนก็ปริ้นท์เงินไปด้วยก็จะได้มีเงินเพิ่มทั้งสองทาง

ซึ่งสาเหตุการล่มสลายของเงินในอดีตที่ผ่านมาก็ถูกบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในอดีตกาลมาทุกยุกต์ทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นยุค Sumerian, Persia, Greek หรือยุค Roman ที่พฤติกรรมการผลิตเงินของพวกเขาก็มักจะเป็นเหมือน ๆ กันก็คือการลดทอนมูลค่าทองคำในเหรียญรุ่นใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมา จนกระทั่งไม่มีส่วนผสมของคำ ก็เปลี่ยนไปเป็นผสมแร่เงิน พอลดจำนวนการใช้แร่เงิน ก็หันไปใช้แร่ทองแดง แล้วพอเลิกใช้แร่ทองแดง ก็หันไปใช้การเคลือบทองเหลือง พอเลิกใช้การเคลือบทองเหลือง ก็หันไปใช้นิกเกิล และก็เป็นกระดาษ ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่มีคุณค่าในตัวมันเองแล้ว แต่ที่มันยังดูเหมือนมีค่าอยู่ก็เป็นเพราะรัฐบาลยังรับรองให้มันสามารถใช้ชำระหนี้ได้ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ก็เท่านั้นเอง

ดังนั้นปัญหาของเงินคือ Inflation อย่างไม่ต้องสงสัย

ยกตัวอย่างเช่น หากเมื่อ 12 เดือนที่แล้วคุณมีเงินในธนาคาร 1 ล้านบาท ผ่านมา 12 เดือนอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยคุณจะลดลงกว่า 34% แต่หากเมื่อ 12 เดือนที่แล้วคุณเลือกที่จะเปลี่ยนจากเงินสดในธนาคารไปอยู่ในรูปของหุ้น S&P 500 ผ่านไปหนึ่งปีความมั่งคั่งคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.34 ล้านบาท

ดังนั้นคุณจะสังเกตได้ว่าเหล่าบรรดามหาเศรษฐีและนักลงทุนต่าง ๆ นั้น มักจะไม่เก็บเงินสดเอาไว้มากนัก แต่มักจะเก็บเอาไว้ในรูปแบบของ Property หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นที่สามารถเอาชนะค่าเงินเฟ้อได้ เช่น เอาไปลงในอสังหาริมทรัพย์, ลงในธุรกิจ, ลงในของหายากของสะสม ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เหล่าบรรดาคนรวยนั้น พวกเขาไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน แต่พวกเขาทำเพื่อสั่งสมความมั่งคั่งผ่านทรัพย์สิน

ส่วนคนชนชั้นกลางธรรมดาทั่ว ๆ ไปที่ทำงานเพื่อเงินสดนั้น จะลำบากมากยิ่งขึ้น ทั้งคนที่เก็บเงินสดไว้ในธนาคารเฉย ๆ ไม่ได้ลงทุนอะไร หรือคนที่ไม่ค่อยมีเงินสดมากนัก จะพบกับค่าเงินเฟ้อที่ทำให้อำนาจในการจับจ่ายใช้สอยลดลงเฉลี่ยราว 20% ต่อปี อย่างมากเงินเดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% ปีนี่ก็เก่งแล้ว ดังนั้นถ้าเรทเงินเดือนในแต่ละปีคุณไม่ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% แล้วล่ะก็ คุณก็จะต้องทำงานหนักไปตลอดชีวิตการทำงานที่เหลือ เพราะโตไม่ทันค่าเงินเฟ้อ ไม่เว้นแม้กระทั่งเหล่าบรรดาคุณหมอ วิศวกร ที่แม้มีเงินเดือนที่สูงแต่หากเอาแต่เก็บออมทุกบาททุกสตางค์ โดยไม่ได้นำเงินสดไปเปลี่ยนให้อยู่ในรูปทรัพย์สินแล้วล่ะก็ พวกเขาก็ต้องทำงานอย่างหนักเพียงเพื่อได้รับค่าตอบแทนที่นับวันมีแต่ด้อยค่าลง นั่นคือการทำงานเพื่อเงิน

Money/Energy(Oxygen) > Currency(Blood) > Economy(Body)

โดยทาง Michael Saylor ได้เปรียบเทียบว่า หากเปรียบระบบเศรษฐกิจกับร่างกายของเราแล้วก็จะพบว่า Money/Energy นั้นเปรียบดั่งออกซิเจนที่คอยล่อเลี้ยงเม็ดเลือดแดงที่เปรียบเป็นสกุลเงิน และเม็ดเลือดแดงก็คอยล่อเลี้ยงร่างกายที่เปรียบดั่งระบบเศรษฐกิจ

ดังนั้น หากมีการนำออกซิเจนออกจากระบบก็คือ Money/Energy สูญเสียไป ก็จะส่งผลให้เลือดเสีย สกุลเงินล่มสลายและร่างกายหยุดทำงานระบบเศรษฐกิจก็พังพินาศ

ซึ่งถ้า ณ ตอนนี้เขาบอกว่า ในห้องที่เราอยู่ มีคนกำลังดูดออกซิเจนออกจากห้องจนเกือบหมดจะหายใจไม่ออกอยู่แล้ว แล้วจู่ ๆ ก็มีหน้ากากออกซิเจนหล่นลงมาจากเพดาน สิ่งที่คุณจะทำในทันทีก่อนที่อากาศภายในห้องจะหมดนั่นก็คือ การดึงหน้ากากออกซิเจนนั้นมาสวมใส่ในทันที และหน้ากากนั้นก็เปรียบดั่ง Bitcoin นั่นเอง

ดังนั้น Michael saylor ได้สรุปสั้น ๆ อีกครั้งว่าที่ผ่านมาเรารู้แล้วว่า

  • Money = Energy
  • Problem = Inflation
  • Solution = Bitcoin

แล้วมาติดตามกันใน Episode ต่อไปกันนะครับ


กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin & Cryptocurrency

อันดับ 1 ของไทย คนส่วนใหญ่นึงถึง Bitkub

อันดับ 1 ของโลก คนส่วนใหญ่นึกถึง Binance


*หมายเหตุ : คอนเท้นต์นี้ไม่ใช่การแนะนำในการลงทุน เป็นการจัดทำเพื่อเป็นกรณีศึกษาจาก Raoul Pal เท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาและตัดสินใจลงทุนด้วยตัวท่านเอง

Resources