Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Bitcoin and CryptocurrencyEconomyPodcast

สาเหตุที่ ธนาคาร Silvergate ปิดกิจการ | Blue O’Clock Podcast EP. 50

ธนาคารในสหรัฐอเมริกาล่ม ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อย ๆ เพราะคนทั่วไปส่วนใหญ่ก็คิดว่า ธนาคารนั้นมั่นคง แต่แล้วในวันที่ 9 มีนาคม ปี 2023 ที่ผ่านมาไม่กี่วันนี้ ทางธนาคาร Silvergate ก็ได้ถูกสั่งจากทางการของสหรัฐฯ ให้ทำการปิดตัวลง

ซึ่งธนาคาร Silvergate นั้น เป็นธนาคารที่โฟกัสในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับตลาดคริปโตฯ เป็นหลัก

โดยข้อมูลนี้เป็นการเรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลมาจาก Patrick Boyle ผู้จัดการกองทุน Palomar Capital Management และ professor จากสถาบันสอนด้านการเงินที่ King’s College London

โดยก่อนหน้านี้ในสิ้นปี 2022 ที่ผ่านมา ทางธนาคาร Silvergate ยังคงมีเงินฝากอยู่ที่ราว ๆ $6 พันล้านดอลล่าร์ฯ ซึ่งก็นับได้ว่า เป็นธนาคารที่ใหญ่ติด Top 50 ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ล้มเหลว ภายใต้การดูแลของ FDIC : Federal Deposit Insurance Corporation หรือ สถาบันของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร 

ซึ่งธนาคาร Silvergate นั้นเนี่ย เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเมื่อตอนที่ตลาดคริปโตฯ กำลังบูมสุด ๆ

โดยย้อนกลับไปเมื่อราว ๆ 10 ปีก่อน ทางธนาคาร Silvergate นั้น เป็นผู้ให้กู้เงินในด้านอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กที่เมือง San Diego รัฐ California แล้วจากนั้นก็ผันตัวเข้าสู่อุตสาหกรรม cryptocurrency

โดยที่มาของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็เริ่มต้นในปี 2013 ที่มาจากการที่ CEO ของธนาคาร Silvergate นั้น เขาได้ทำการอ่านเกี่ยวกับข้อมูลในอุตสาหกรรมคริปโตฯ และได้ทำการเข้าซื้อ bitcoin เป็นครั้งแรก

และหลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ทางธนาคารก็ได้เริ่มเปิดรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับในอุตสาหกรรมคริปโตฯ และได้เริ่มสอบถามข้อมูลว่าพวกเขามีปัญหาอะไรบ้าง และอยากให้ทางแบงค์นั้นช่วยในเรื่องอะไรบ้าง

และหลังจากนั้นในปี 2019 ทางธนาคาร Silvergate ก็ได้เข้าสู่ตลาดหุ้น กลายเป็นบริษัทมหาชน ที่ ณ วันเปิดตัวมีราคาหุ้นอยู่ที่หุ้นละ $13 และในปี 2021 ราคาหุ้นพุ่งสูงสุดไปหุ้นละ $219 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 1,685%

ซึ่งจากจุด ๆ นั้น ก็ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนที่สำคัญระหว่างโลกของเงินสกุลดอลล่าร์ฯ กับโลกของสกุลเงินคริปโตฯ

โดยมีลูกค้ารายใหญ่ ๆ ในวงการคริปโตฯ หลายต่อหลายเจ้า เช่น coinbase, PAXOS,crypto.com, GEMINI, Bitstamp, Circle และ FTX ที่ได้ล่มสลายไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ด้วย

ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Silvergate นั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของตลาดคริปโตฯ และเช่นกัน การหดตัวของ Silvergate ก็สะท้อนถึงขาลงของอุตสาหกรรมคริปโตฯ นี้ด้วย

และในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ Silvergate จะปิดตัวลงนั้น พวกเขาก็ได้ประกาศออกมาว่า จะทำการยุติการดำเนินงาน จากการเผชิญกับวิฤตในโลกคริปโตฯ ซึ่งหนึ่งในปัญหาใหญ่ในนั้นก็คือการล่มสลายของกระดานเทรดยักษ์ใหญ่ที่เคยเป็นอันดับสองของโลกของ FTX ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของ Silvergate นั่นเอง

ซึ่งพอมีข่าวไม่ดีเริ่มรั่วออกมาเรื่อย ๆ จากธนาคาร Silvergate เช่น พวกเขาไม่สามารถยื่นรายงานประจำปีต่อ SEC หรือ กลต. ของสหรัฐอเมริกาได้ทันเวลา โดยพวกเขาโทษพวก กลต. ว่า พวกเขาใช้เวลาในการสืบสวนสอบสวนจากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ นานเกินไป ทำให้กระทบต่อการดำเนินงานภายในบริษัท

พอผู้คนได้ข่าวดังนั้น ในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา ผู้คนก็แห่กันไปถอนเงินออกจากธนาคาร Silvergate เป็นจำนวนกว่า $8 พันล้านดอลล่าร์ฯ

ซึ่งเมื่อทางธนาคาร Sivergate มีเงินสดไม่พอ ก็จำเป็นต้องถูกบังคับให้ขายทรัพย์สินที่พวกเขานำเงินสดไปลงทุนเอาไว้ก่อนถึงกำหนด ทำให้ทรัพย์สินที่ถูกบังคับขายก่อนถึงเวลาที่กำหนดนั้น ขาดทุนทันทีจำนวนกว่า -$718 ล้านดอลล่าร์ฯ

ดังนั้นทางการสหรัฐฯ นั้น จำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่า การปิดตัวลงของ Silvergate Bank นั้น จะสามารถรักษาเงินชดเชยของเหล่าบรรดาลูกค้า(รายย่อย)ได้อย่างปลอดภัย

ซึ่งในสหรัฐอเมริกานั้น ทาง FDIC : Federal Deposit Insurance Corporation หรือ สถาบันของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร นั้น จะรับผิดชอบคืนเงินชดเชยให้แก่บัญชีที่มีเงินฝากไม่เกิน $250,000 เท่านั้น เกินกว่านั้นจะไม่สามารถชดเชยได้ ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า ลูกค้ารายใหญ่ของ Silvergate ที่มีเงินเยอะ ๆ ฝากเอาไว้ในบัญชีเดียวนั้น เงินจะหายวับไปเลย ซึ่งแน่นอนว่า จะส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ตามมาอย่างแน่นอนกับบริษัทที่พ่วงกับธนาคาร Silvergate

คำถามต่อมาก็คือ เพราะเหตุใดธนาคาร Silvergate นั้น จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อโลกคริปโตฯ

นั่นก็เพราะว่า เมื่อผู้คนต้องการซื้อเหรียญในโลกคริปโตฯ ก็จำเป็นที่จะต้องนำเอาเงินดอลล่าร์ฯ ไปแลก และคนที่มีเหรียญคริปโตฯ อยู่ในมือ หากต้องการเปลี่ยนเป็นเงินดอลล่าร์ฯ ก็ต้องมีผู้บริการรับแลก

ซึ่งถ้าโอนจำนวนเงินน้อย ๆ ก็ไม่น่าเป็นปัญหาอะไรกับธนาคารทั่ว ๆ ไป แต่พอเป็นเงินจำนวนมาก ๆ เข้า ทางธนาคารต่าง ๆ ก็จะเริ่มตั้งคำถามอย่างมากมายกับเงินจำนวนนั้นว่า ได้เงินมาจากที่ใด เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และเงินที่อาจจะมาจากการก่ออาชญากรรม เพื่อป้องกันการถูกสอบสวนจาก SEC หรือทางฝั่ง กลต. ของสหรัฐฯ

ซึ่งแน่นอนว่า เหล่าบรรดาชาวคริปโตฯ นั้น ก็ไม่ชอบกับการตั้งคำถามประเภทนี้กับพวกเขาสักเท่าไหร่นัก

และการที่เก็บเงินที่เกี่ยวข้องกับตลาดคริปโตฯ นั้น คุณอาจเลือกเก็บในรูปของ stablecoin อย่างสกุลเงินที่ชื่อ Tether หรือ USDT ที่ตั้งตนเองว่าการถือเหรียญ USDT จำนวน 1 เหรียญ จะมีค่าเท่ากับ $1 ดอลล่าร์ฯ เสมอ (ส่วนจะเท่ากันจริงหรือไม่นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง)

ซึ่งทาง Tether ก็เพียงแค่ให้คำมั่นสัญญาว่า พวกเขาได้เก็บเงินทุนสำรองเอาไว้เท่ากับจำนวนเหรียญ USDT ที่พวกเขาผลิตออกมา โดยพวกเขาก็มักจะอ้างว่ามีอยู่จริง(ซึ่งมีจริงหรือไม่ ก็ต้องวัดใจกันเอา) และแม้ว่าพวกเขาจะบอกว่า จะมีบริษัทที่จะมา Audit หรือคอยตรวจสอบบัญชีและเงินสำรองคงคลังนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด แต่ก็ไม่มีใครรู้ชัดแน่จริงว่า ได้มีการตรวจสอบจริงหรือไม่ และผู้ตรวจสอบนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่

ดังนั้น ก็จะมีผู้คนจำนวนหนึ่ง ที่พวกเขาไม่มั่นใจว่าจะเก็บเงินในรูปของเหรียญ stablecoin ในสกุลเงินดิจิตอล

ทำให้มีผู้คนจำนวนหนึ่งจึงเลือกที่จะเก็บเงินไว้บนกระดานเทรด บน Exchange และถ้าไม่มั่นใจในการฝากเงินไว้กับกระดานเทรด อย่างที่ FTX ล่มสลายไปพร้อมกับเงินของลูกค้านั้น

โดยปกติแล้วทางกระดานเทรดก็จะมีการเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารเอาไว้อยู่แล้ว และธนาคารที่รับบทบาทนั้น ทาง Silvergate ก็ขอเป็นผู้รับบทบาทนั้นแทนนั่นเอง เพราะธนาคารอื่น ๆ ไม่มีใครเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงที่จะเรื่องกับทาง SEC หรือทาง กลต. สหรัฐฯ

ซึ่งทาง Silvergate ไม่เพียงแค่เป็นธนาคารที่คอยรับเชื่อมต่อกับโลกคริปโตฯ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกเขายังได้สร้าง Payment Network ของตัวเองที่เรียกว่า Silvergate Exchange Network ที่เปิดทำการแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ฯ กับเหรียญคริปโตฯ ตลอด 24 ชั่วต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ 365 วันต่อปี แบบไม่มีวันหยุด

ซึ่งนั่นมันทำให้ธนาคาร Silvergate ดึงดูดเหล่าบรรดาลูกค้ารายใหญ่ในโลกคริปโตฯ เข้ามาทำธุรกรรมทางการเงินด้วย เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้ สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้โดยไม่ต้องโกหกกับธนาคารว่า พวกเขาจะเอาบัญชีดังกล่าวไปใช้ในโลกคริปโตฯ เพราะธนาคารอื่นนั้น พวกเขาต้องโกหกว่าไม่ได้เอาไปใช้กับโลกคริปโตฯ ซึ่งจะนำให้บัญชีธนาคารไม่ได้รับการอนุมัตินั่นเอง

แถมทาง Silvergate ยังเป็นธนาคารที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SEC หรือทาง กลต. ของสหรัฐฯ โดยจะต้องส่งงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดและการควบคุมการเงินอย่างละเอียดให้แก่ SEC ตามวันเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

ซึ่งนั่นทำให้ Silvergate มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือสูงในสายตาของลูกค้า

แถมเงินที่ลูกค้าฝากเอาไว้กับ Silvergate นั้น ทางธนาคารก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้ลูกค้าอีกด้วย มันเป็นเงื่อนไขที่พิเศษจริง ๆ ที่ทางธนาคาร Silvergate สามารถเก็บเงินเอาไว้กับตัวเองได้หลายพันล้านดอลล่าร์ฯ แถมยังไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากอีกด้วย

นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ทาง Silvergate หาอะไรบางอย่างทำกับเงินฝากจำนวนมหาศาลนี้ ซึ่งแน่นอนว่า ธนาคารส่วนใหญ่มักทำกำไรกับดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนั้น ทางธนาคาร Silvergate จึงทำการปล่อยกู้ให้แก่บริษัท Microstrategy ที่มี Michael Saylor เป็น CEO อยู่ อนุมัติเงินกู้ให้พวกเขานำไปซื้อ bitcoin ได้

และแน่นอนว่า ไม่ใช่ปล่อยกู้แค่บริษัท Microstategy รายเดียวแน่ ๆ

โดยในเดือนมกราคม 2023 ที่ผ่านมานี้ ทาง Silvergate ยังประกาศอีกด้วยว่า ได้มีการอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้แก่องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ bitcoin มาค้ำประกันเพื่อกู้เงินได้ โดยมีการระบุว่า มีวงเงินสูงถึง $1,100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

แต่ที่ว่ามานั้น ก็ไม่ใช่ต้นเหตุของการล่มสลายของ Silvergate Bank

แล้วสาเหตุการล่มสลายที่แท้จริงนั้นเกิดมาจากอะไรกันแน่?

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน ปี 2022 ที่ผ่านมานั้น ทาง Silvergate แสดงหลักทรัพย์ที่พวกเขามีอยู่ใน balance sheet ประมาณ $11,400 ล้านดอลล่าร์ฯ ซึ่งหลัก ๆ ก็จะอยู่ในรูปของ Bonds, Treasury securities, mortgage-backed securities agency bonds และอื่น ๆ

ส่วน bitcoin ที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้น ก็มีอยู่ที่ราว ๆ $1,400 ล้านดอลล่าร์ฯ

และมีเงินฝากมูลค่า $13,200 ดอลล่าร์ฯ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเงินฝากจากบริษัทคริปโตฯ ขนาดใหญ่ ที่ฝากแบบไม่มีดอกเบี้ย

ปัญหามันเกิดขึ้นเมื่อตอนที่ กระดานเทรดอย่าง FTX นั้นได้ประกาศปิดตัว และลูกค้าที่ฝากเงินเอาไว้ในกระดานเทรดของ FTX ก็ต้องการถอนเงินออก ซึ่งแน่นอนว่าทาง FTX ก็ต้องไปขอเงินคืนจากธนาคาร Silvergate ซึ่งนั่นมันก็ไม่ได้หมายถึงว่าผู้คนสูญเสียความเชื่อมั่นใน Silvergate แต่มันเกิดจากการที่ผู้คนในตลาดคริปโตฯ ไม่เชื่อมั่นในอุตสาหกรรมนี้อีกต่อไป

ดังนั้นมันก็เหมือนกับระบบธนาคารแบบเก่า ที่ผู้คนจำนวนมาก ต่างแห่กันไปถอนเงินพร้อม ๆ กัน ทำให้ภายในเดือนธันวาคม ปี 2022 ที่ผ่านมานั้น จากเดิมที่ Silvergate เคยมีเงินฝากกว่า $13,200 ล้านดอลล่าร์ฯ นั้น ลดลงเหลือเพียง $3,900 ล้านดอลล่าร์ฯ เท่านั้นเอง หรือเงินฝากแบบไม่มีดอกเบี้ยนั้น หายไปเกือบ $10,000 ล้านดอลล่าร์ฯ ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน

แต่มูลค่าหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ของธนาคาร Silvergate นั้น อยู่ในรูปของ Bonds หรือพันธบัตรและการปล่อยให้กู้ยืมซะเยอะ

แต่ทาง Silvergate กำลังประสบปัญหาในการที่ผู้คนต้องการถอนเงินออกจากบัญชีราว ๆ $9,000 ล้านดอลล่าร์ฯ ซึ่งเงินสดที่มีก็เหลือไม่พอจ่าย

ดังนั้น Silvergate จึงจำเป็นจะต้องขายหลักทรัพย์ นั่นก็คือ Bonds หรือพันธบัตร เพื่อให้มีเงินสดพอให้คนถอนเงิน

โดยในเดือนธันวามคม ปี 2022 ที่ผ่านมาก็มีรายงานออกมาว่าธนาคาร Silvergate ได้ทำการขาย Bonds หรือพันธบัตร ไปราว ๆ ครึ่งหนึ่ง และทำการกู้ยืมเงินอีกจำนวน $4,300 ล้านดอลล่าร์ฯ จาก สินเชื่อ Home Loan Bank of San Francisco ซึ่งเป็นสินเชื่อระยะสั้นของทางรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน

ซึ่งแน่นอนว่า โดยปกติแล้ว การถือพันธบัตรรัฐบาลนั้น จะมีอายุกำหนดว่าจะต้องถือเอาไว้นานแค่ไหน และถ้าหากทำการขายพันธบัตรออกไปก่อนกำหนด ก็จะทำให้ขาดทุนทันที

นั่นจึงทำให้แต่เดิมที การแสดงตัวเลขงบดุลทางบัญชีนั้น ดูเหมือนธนาคาร Silvergate จะมีหลักทรัพย์และสินทรัพย์มากกว่าจำนวนเงินฝากของลูกค้า แต่พอทำการขายทรัพย์หลักก่อนกำหนด ก็ทำให้มีเงินสดน้อยกว่าจำนวนเงินฝากในทันที

แถมเงินสดบางส่วนทาง Silvergate ก็ได้นำเงินไปลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Blockchain ด้วย หรือพูดโดยรวม ๆ แล้ว ทางธนาคาร Silvergate ในไตรมาสที่สี่ของปี 2022 ที่ผ่านมานั้น ได้ขาดทุนไปแล้วมากว่า -$1,000 ล้านดอลล่าร์ฯ

และในเวลาต่อมาที่ดูเหมือนเป็นการตอกปะตูฝาโลงกับธนาคาร Silvergate ก็คือ การที่บริษัทคริปโตฯ ยักษ์ใหญ่หลายราย ได้ประกาศออกมาว่า พวกเขาจะไม่รับเงินจากบัญชีที่เชื่อมต่อกับธนาคาร Silvergate อีกต่อไป นั่นจึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่แห่กันปิดบัญชีของธนาคาร Silvergate ทำให้เงินฝากของธนาคาร Silvergate ลดลงอย่างรวดเร็ว

และนี่ก็เป็นปัญหาดั้งเดิมของธนาคารแบบเก่าที่เรียกว่า BANK RUN เกิดจากการที่ผู้คนสูญสิ้นศรัทธาและความเชื่อมั่นในธนาคารนั้น ๆ แล้วแห่กันไปถอนเงินฝากจากธนาคารพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก ๆ

และครั้งนี้ก็เกิดจากการที่ลูกค้า crypto ที่สูญเสียความเชื่อมั่นจากธนาคาร Silvergate เอง ไม่ใช่เกิดจากการที่ปล่อยกู้ใน bitcoin

และนอกจากนั้น การที่ทาง FED หรือทางธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ทำการขึ้นดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้พอร์ทการลงทุนใน Bonds หรือพันธบัตรของ Silvergate ขาดทุน

ซึ่งแน่นอนว่าหลังการการปิดตัวลงของธนาคาร Silvergate นั้น ย่อมส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ตามมาอย่างแน่นอน

และสถานีต่อไปก็เกิดขึ้นกับ Sillicon Valley Bank ธนาคารที่ให้บริการเหล่าบรรดา Tech Startup ขนาดเล็กในเมือง Silicon Valley ที่ปิดตัวลง

แล้วมาติดตามกันใน Episode ต่อไปครับ

Resources