Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

How to

Bitcoin vs Gold ลงทุนแบบไหนดีกว่ากัน | การดีเบตระหว่างเจ้าพ่อบิตคอยน์ Michael Saylor กับเจ้าพ่อทองคำ Frank Giustra EP.5

การดีเบตยกที่ 4 ว่าด้วยเรื่องของ Supply Dynamics หรือเรื่องของอุปทาน หรือปริมาณความต้องการขายในตลาด ระหว่าง Michael Saylor ในฝั่งของ Bitcoin และ Frank Giustra ในฝั่งของทองคำ

โดยพิธีกรเริ่มต้นถาม Frank Giustra ว่า เมื่อยกที่แล้วทางฝั่งของ Michael Saylor บอกว่า พอราคาทองคำมีราคาที่สูงขึ้น ก็จะมีแรงจูงใจให้พวกเหมืองขุดทองต่าง ๆ ก็จะยิ่งผลิตทองออกมาขายกันมากขึ้นเพราะได้กำไรดี แต่ก็อย่างที่รู้ ๆ ว่าอะไรก็ตามที่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ ในท้ายที่สุดมูลค่ามันจะค่อย ๆ เสื่อมค่าลง ซึ่งดูได้จากการปริ้นท์เงินกระดาษออกมา ดังนั้นสิ่งที่ผู้คนกำลังค้นหาว่ามี Asset ใดบ้างที่ไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าจะมีเพียงแค่ Bitcoin เท่านั้นที่ทำได้ เพราะมันถูกจำกัดจำนวน Supply ให้มีได้แค่เพียง 21 ล้านเหรียญ BTC เท่านั้น

ดังนั้น Frank คุณช่วยบอกเหตุผลให้ราฟังหน่อยว่า มีเหตุผลใดบ้างที่จะบอกว่า ทองคำนั้นเป็นสิ่งที่หายาก มันมีอยู่อย่างจำกัดหรือมีน้อย ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีไม่จำกัด เพียงแต่มันยังไม่ถูกขุดขึ้นมาบนพื้นโลกแค่นั้นเอง

โดยทาง Frank Giustra จะมีเวลาในการอภิปรายหัวข้อนี้อยู่ 5 นาทีด้วยกัน

Frank เริ่มต้นการอภิปรายด้วยการบอกว่า สิ่งที่ Michael Saylor พูดมานั้น แสดงให้เห็นถึงความที่เขาไม่เข้าใจในอุตสาหกรรมการขุดเหมืองทองคำสักเท่าไหร่นัก

โดย Frank ได้บอกว่า Demand ของทองคำนั้นเกิดมาจาก 3 ส่วนใหญ่ใหญ่ ๆ ก็คือ

  • 50% มาจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ (Jewelry) โดยที่มีประเทศอินเดียมีความต้องการมากที่สุด
  • 20%-25% มาจากธนาคารกลาง (Central Bank)
  • 20%-25% มาจากนักลงทุน (Investor)

และจากประสบการณ์ในด้าน Supply ในการจัดหาและผลิตทองคำจากเหมืองทั่วโลกเกือบทั้งชีวิตที่เขาอยู่ในอุตสาหกรรมนี้มานั้น แม้ว่าจะมีการค้นพบแหล่งแร่ทองคำใหม่ แต่การที่จะขุดมันขึ้นมานั้น ไม่ใช่ว่าเจอปุ๊บก็ขุดได้ปั๊บ เพราะขั้นตอนตั้งแต่ค้นหาแหล่งแร่ทองคำจนไปถึงทำเหมืองขุดออกมาได้นั้น ขั้นตอนเหล่านี้กินเวลายาวกว่า 10-20 ปี ซึ่งบางครั้งก็อาจจะใช้เวลานานกว่านั้น และแน่นอนว่าในระหว่างนั้นก็จะยิ่งถูกค้นพบแหล่งแร่ทองคำใหม่ ๆ ได้น้อยลง และใช้เวลากว่าที่จะขุดขึ้นมาได้นานขึ้นไปอีก มันจึงส่งผลให้ราคาของทองคำมีราคาที่สูงขึ้นนั่นเอง

ซึ่งจากปริมาณทองคำที่ค้นพบในช่วง 30 ปีให้หลังมานี้ ไม่มีค้นพบแหล่งแร่ทองคำขนาดใหญ่เลย และปริมาณทองคำที่ถูกขุดขึ้นมาในช่วง 10 ปีล่าสุดก็น้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่เคยถูกค้นพบและขุดขึ้นมาในปี 1990 ปีเดียวซะอีก เมื่อตอนที่ราคาทองคำมีราคาต่ำกว่า $400 ดอลล่าร์ต่อออนซ์

แถมทองคำสำรองของบริษัทที่ขุดเหมือง ในช่วง 8 ปีที่ผ่าน มีปริมาณทองคำสำรองในคงคลังลดลงกว่า 40% เลยทีเดียว นั่นแสดงให้เห็นว่า ปริมาณทองคำสำรองในคงคลังของบริษัทเหมืองขุดนั้นกำลังเข้าขั้นวิกฤตซะด้วยซ้ำ แถมเมื่อมันหายากขึ้น ใช้เวลาในดำเนินการมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการนำทองขึ้นมาใหม่ก็ยิ่งสูงขึ้น มันก็จะส่งผลให้ทองคำมีราคาสูงขึ้นแบบทวีคูณตามต้นทุนของเหมืองด้วย

Image from – https://www.macrotrends.net/1333/historical-gold-prices-100-year-chart

ซึ่งหากย้อนกลับไปในปี 1970 ตอนที่ราคาของทองคำมีราคาราว ๆ $35 ดอลล่าร์ต่อออนซ์นั้น ในช่วงนั้นมีการขุดทองคำได้ราว ๆ 1,500 ตัน และพอวันเวลาผ่านไป 50 ปี ราคาของทองคำก็ดีดตัวขึ้นมากกว่า 50 เท่า หรือกว่า 6,000% แต่ปริมาณการผลิตทองคำในปัจจุบันนั้น เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นแค่ 2 เท่าจากเมื่อ 50 ปีที่แล้วแค่นั้นเอง ซึ่งถ้าคิดปริมาณการเพิ่มขึ้นของจำนวน Supply ก็เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 1.5% เท่านั้นเอง

ในขณะที่ Bitcoin นั้นแม้ว่าจะมีปริมาณ Supply ที่จำกัด แต่ก็มากับ Inflation หรือมันเฟ้อเฉลี่ยปีละ 2%-3% ซึ่งกว่าค่า Inflation จะเป็นศูนย์ก็คงต้องรอไปจนกว่าจะขุดเหรียญจนครบ ทำให้ในระหว่างนั้น Bitcoin มีความเสี่ยงอย่างมากมายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

โดย Frank ก็ตั้งคำถามกับ Michael Saylor ฝากเอาไว้ให้คิดว่า ถ้าในอนาคตราคาทองคำมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะเอาทองคำที่ไหนออกมาขายให้กับคนในตลาด เพราะในคงคลังของบริษัทเหมืองขุดทองก็มีน้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้น เรื่องของปริมาณ Supply ทองคำนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะทองคำส่วนใหญ่ก็หมุนเวียนอยู่ในตลาดซะมากกว่า

และอีกอย่างที่ Michael ชอบพูดว่า ทองคำมี Supply ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบทองคำที่ดาวเคราะห์ดวงใหม่บ้างล่ะ หรือการใช้ปฏิริยาทางเคมีเพื่อใช้ในการสังเคราะห์และสร้างทองคำขึ้นมาได้เองบ้างล่ะ ซึ่งเขามองว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่จริงและเป็นเรื่องที่ไกลเกินตัวไปเยอะเลยทีเดียว

และนี่ก็คือการอภิปรายของ Frank Giustra ในฝั่งของทองคำ

โดยทาง Michael Saylor ก็มีเวลาโต้แย้งในการอภิปรายของ Frank เมื่อสักครู่นี้อยู่ 1 นาที

โดย Michael บอกว่า เขาได้ไปอ่านรายงานประจำปีของเหมืองขุดทองคำเพื่อมาโต้วาทีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเขาอ่านรีพอร์ทของเหมืองขนาดใหญ่อยู่สองเจ้า โดยในรายงานระบุว่า

เจ้าแรก Newmont ระบุว่า เมื่อปีที่แล้วพวกเขาขายทองคำได้ราว ๆ 5.8 ล้านออนซ์ และมีการเก็บทองคำสำรองไว้ในคงคลังเป็นจำนวน 94.2 ล้านออนซ์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ทองคำสำรองสามารถนำออกมาขายได้ไปอีก 18 ปี ในปริมาณที่เท่า ๆ กันในทุก ๆ ปี

ส่วนอีกเหมืองนึงที่ชื่อ Barrick ปีที่แล้วขุดได้ 4.76 ล้านออนซ์ และมีทองคำสำรองไว้จำนวน 68 ล้านออนซ์ หรือมีทองคำสำรองขายไปอีก 14 ปี

ซึ่งดูเหมือนว่า ทองคำจะไม่ได้หมดลงเร็ว ๆ นี้แน่

และนี่ก็คือการโต้แย้งจาก Michael Saylor ที่มีต่อทองคำ

ทีนี้ก็ถึงตาของ Michael Saylor อภิปรายในหัวข้อของ Supply กันบ้าง โดยพิธีกรเริ่มต้นด้วยประโยคว่า จำนวน Bitcoin ถูกจำกัดอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ แต่ ณ ตอนนี้กลับมีคนต้องการเป็นจำนวนมาก ซึ่งปริมาณ Demand กับ Supply สวนทางกัน มันเลยส่งผลให้ราคาของ Bitcoin สูงขึ้นเรื่อย ๆ และพอราคามันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนก็ไม่อยากเอามันไปจับจ่ายใช้สอย เพราะเก็บมันเอาไว้ดูน่าจะเข้าท่ากว่า ทำให้เกิด ของขาดตลาดเพราะมีจำนวนเหรียญน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการของผู้คนในตลาด ดังนั้นมันดูเหมือนว่าระบบ Supply ของ Bitcoin นั้นจะไม่เหมาะกับการใช้เป็น currency หรือสกุลเงินในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันสักเท่าไหร่นัก คุณมีความคิดอย่างไรบ้าง?

โดยทาง Michael ได้ตอบว่า ในมุมมองของเขามองว่า Bitcoin คือสถาปัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นสกุลเงินในอุดมคติ ในขณะที่ทองคำไม่ใช่

ซึ่ง Michael Saylor บอกว่า ในสายอาชีพของเขา เขาเคยทำงานเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งกลไกของมันก็คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีราคาที่สูงขึ้น ทำให้มี Demand หรือความต้องการซื้อลดลงแต่ทางผู้ผลิตกลับมีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น

และเช่นกัน ทองคำ เป็น commodity หรือสินค้าโภคภัณฑ์ มันก็จะมีกลไกแบบนี้เช่นกัน

ในขณะที่ bitcoin เป็น scarcity คือยิ่งนานวันยิ่งหายาก ปริมาณมีแต่จะลดลงเรื่อย ๆ เพราะเมื่อราคาของ bitcoin สูงขึ้น ปริมาณการผลิต supply ยังคงเท่าเดิมไม่เพิ่มไม่ลดเพราะมันถูกโปรแกรมให้มาเป็นแบบนั้น

ลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัด ๆ อีกครั้ง เมื่อราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ

  • มีคนขุดทองคำเพิ่มมากขึ้น
  • ความต้องการในการซื้อเครื่องประดับที่เป็นทองคำลดลง
  • มีการนำเครื่องประดับเก่ามารีไซเคิลหลอมละลายและขึ้นรูปใหม่เพื่อขายในราคาที่สูงขึ้น
  • กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ แห่เทขายทองคำเพื่อทำกำไร ทุบให้ราคาทองคำต่ำลงมาก ๆ เพื่อให้รายย่อยตกใจแห่เทขาย เพื่อที่จะได้ไปช้อนซื้อในราคาที่ถูกลง
  • กลุ่มนายทุนเพิ่มเงินทุนในธุรกิจเหมืองขุดทองคำเพื่อเร่งเอาทองคำออกมาขายในราคาสูง ๆ
  • เหล่าบรรดาบริษัทเหมืองขุด เข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพื่อขนทองคำออกมาขายมากยิ่งขึ้น
  • และเมื่อราคาทองคำสูงมากเกินไป ทางรัฐบาลก็จะเริ่มหยุดซื้อทองคำ แต่กลับนำทองคำมาเทขายเพื่อกดราคาให้ต่ำ

ซึ่งเป็นวงจรที่อุบาทว์สิ้นดี

ในขณะที่ bitcoin นั้น เวลาที่มันมีราคาที่สูงขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ

  • มี demand หรือความต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น
  • เหมืองขุด bitcoin เก็บสะสมมากยิ่งขึ้น พวกเขาจะหยุดการขาย
  • นักลงทุนเริ่มซื้อ bitcoin มากขึ้น
  • บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เริ่มซื้อ bitcoin เข้า balance sheet ของบริษัทเพิ่มมากขึ้น อย่างบริษัท Microstrategy ของ Michael Saylor เองนั้น ก็ใช้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำเพื่อเข้าซื้อ Bitcoin เก็บสะสมเป็นเงินสำรองของบริษัทเพิ่มมากขึ้น เพราะจากสถิติย้อนหลัง 10 กว่าปีของ bitcoin นั้น เติบโตเฉลี่ยแบบดอกทบต้นราว ๆ กว่า 190% ต่อปี ดังนั้น เงินกู้ที่มีดอกเบี้ยหลักหน่วยต่อปีเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมาก
  • และแน่นอนว่าธนาคารกลางทั่วโลกไม่สามารถ short หรือเทขาย bitcoin ได้ เพราะพวกเขาไม่มีมันเก็บเอาไว้ รวมถึงรัฐบาลก็ไม่มี bitcoin สำรองไว้ในคงคลังเพื่อเทขายทุบราคา ดังนั้นจึงทำให้มีอิทธิพลน้อยมากจากการควบคุมราคาจากรัฐบาล
  • ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ยิ่ง bitcoin มีราคาที่สูงขึ้น ก็ยิ่งมีนักลงทุน บริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมสถาบันการเงิน ก็แห่กันเข้ามาซื้อ ยิ่งไปกว่านั้น ก็เริ่มมีบางประเทศเริ่มซื้อ bitcoin เพื่อเข้าคงคลังเอาไว้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเอลซัลวาดอร์ ที่เป็นประเทศแรกของโลกที่อนุมัติให้ใช้ bitcoin สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

ในขณะที่การผลิตแร่ทองคำนั้น ใช้เงินทุนที่มหาศาลนับแสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี เพื่อที่จะขุดทองคำขึ้นมา ใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ใช้สารเคมีรุนแรง ซึ่งเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะเพิ่มปริมาณ supply ให้มากขึ้นอย่างไม่รู้จบ แต่ยิ่งขุดเพิ่มขึ้นราคาก็กลับลดลงซะอย่างงั้น และต้นทุนมหาศาลที่ว่ามานั้น ยังไม่รวมค่าขนส่ง ยังไม่รวมระบบการป้องกันความปลอดภัยที่ทองคำอาจถูกปล้นระหว่างทางอีกด้วย เพราะหากต้องการสิ่งเหล่านี้ก็ต้องมีต้นทุนเพิ่มอีกมากกว่าหมื่นล้านดอลล่าร์เลยทีเดียว

และ Michael เองเขาก็เคยดูรายการสัมภาษณ์ของนักลงทุนหลายต่อหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การลงทุนในทองคำจะดีมาก ถ้าเหล่าบรรดาเหมืองขุดทองคำหยุดขุดซะ เพราะนักลงทุนทุกคนต่างรู้ดีกว่า ยิ่งของหายากมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะอะไรที่ผลิตได้เรื่อย ๆ ไม่จำกัด มันจะถูกบั่นทอนมูลค่าให้ลดลง

ในขณะที่อุตสาหกรรมเหมืองขุด bitcoin นั้น จ่ายค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 2,000 ล้านดอลล่าร์ฯ และจ่ายค่าอุปกรณ์เหมืองขุดอีกราว ๆ 2,000 ล้านดอลล่าร์ฯ ที่นอกจากจะได้เหรียญ bitcoin แล้ว ในค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้รวมระบบการป้องกันความปลอดภัยระดับสูงในการเก็บรักษาและรวมไปถึงค่าขนส่ง ค่าทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และยังรวมไปถึงผู้ใช้งานทั้งหมดบนโลกใบนี้เรียบร้อยแล้ว และแน่นอนว่าอุตสาหกรรมเหมืองขุดบิตคอยน์นั้นเป็นพลังงานสะอาด ในขณะที่อุตสาหกรรมเหมืองขุดทองคำนั้นมีแต่จะบ่อนทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคุณก็ลองคิดดูเอาเองละกันว่า หากคุณเป็นนักลงทุน คุณจะเลือกลงทุนในบิตคอยน์หรือทองคำดีกว่ากัน

และนี่ก็คือการอภิปรายของ Michael Saylor ในหัวข้อของ Supply Dynamics ในฝั่งของ bitcoin

โดยทาง Frank Giustra จะมีเวลาในการโต้แย้งการอภิปรายเมื่อสักครู่นี้อยู่ 1 นาที

โดย Frank ก็ยังยืนยันคำพูดเดิมว่า จากถสิติการขุดทองคำย้อนหลังไป 50 ปีนั้น มีการขุดเพิ่มขึ้นแค่เพียง 2 เท่าจากเดิม ความจริงก็ยังคงเป็นความจริงวันยังค่ำ

ส่วนที่ Michael บอกว่ายิ่งราคาของ bitcoin สูงขึ้นก็ยิ่งมีคนแห่เข้าไปซื้อมากขึ้น ซึ่งในมุมของ Frank นั้นมองว่า มันเหมือนเป็นฟองสบู่ลูกใหญ่ที่ใกล้จะแตกซะมากกว่า ดังนั้นการอภิปรายมาจนถึงตอนนี้เขาก็ยังคงไม่ซื้อ bitcoin อยู่ดี

ส่วนที่คุณบอกว่า demnad ของอุตสาหกรรมเครื่องประดับลดลงเมื่อราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นนั้น Frank ก็บอกว่า สัดส่วนของอุตสาหกรรมนี้ก็ยังคงเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 50% ที่ยังคงเข้าซื้อทองคำอยู่สม่ำเสมอในทุก ๆ ปี

ส่วนในด้านพลังงานในการขุดเหมืองของ bitcoin นั้น มันใช้พลังงานเยอะมาก เพราะอีกไม่นานมันจะใช้พลังงานเท่ากับพลังที่ใช้ทั้งประเทศญี่ปุ่นซะด้วยซ้ำ ซึ่งแน่นอนว่ายังไงในเหมืองขุด bitcoin ก็ยังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณที่สูงอยู่ดี ดังนั้น Michael หากคุณจะโจมตีทองคำด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมคุณจะแพ้ในการอภิปรายนี้อย่างแน่นอน

แล้วก็จบกันไปในยกที่ 4 ที่ว่าด้วยเรื่องของ Supply Dynamics หรือเรื่องของอุปทาน หรือปริมาณความต้องการขายในตลาด แล้วพบกันใน Episode ที่ 5 นะครับ


กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin & Cryptocurrency

อันดับ 1 ของไทย คนส่วนใหญ่นึงถึง Bitkub

อันดับ 1 ของโลก คนส่วนใหญ่นึกถึง Binance


*หมายเหตุ: นี่ไม่ใช่ content แนะนำในการลงทุนใด ๆ เป็นเพียงข้อมูลฐานทั่วไปเท่านั้น โดยนักลงทุนควรศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนใด ๆ ด้วยตัวของท่านเอง

Resources