Blue O'Clock

สตูดิโอผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้านการลงทุน ธุรกิจ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Bitcoin and Cryptocurrency

วิธีลงทุน Bitcoin ให้รวย สไตล์ Anthony Pompliano EP.3 ตอน ความผันผวนที่รุนแรงของ bitcoin

ที่ผ่านมาหลายคนคงได้เห็นการขึ้นลงของราคา Bitcoin กันบ้างแล้วว่า มันมีความผันผวนหรือค่า Volatility ของราคาที่สูงมาก ซึ่งหลายคนอาจติดภาพจำในตลาดหุ้น ที่หากราคาหุ้นขึ้นลงแค่ 2% – 3% นี่ก็ถือว่าหวาดเสียวแล้ว ยิ่ง 10% นี่ยิ่งแล้วใหญ่หัวใจเกือบจะวายกันเลยทีเดียว

แต่พอเป็น Bitcoin แล้วก็จะพบว่า การขึ้นลงของตลาดหุ้นดูเป็นเรื่องขี้ประติ๋วกันไปเลยทีเดียว เพราะเวลาที่ราคาของ bitcoin ลงทีนึง มีตั้งแต่ -5% -10% -30% -50% และเคยร่วงลงสูงสุดกว่า -80% ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทีนี้ลองมาดูมุมมองจาก Anthony Pompliano กันบ้างว่า เขามีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับความผันผวนที่รุนแรงของ Bitcoin

โดย Pomp ก็ได้พูดว่า ถ้าให้พูดถึงเรื่องความผันผวนของ Bitcoin เราสามารถมองได้สองมุมดังนี้ก็คือ

มุมแรก คุณมักจะได้ยินข่าวตามสื่อต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับข่าวในแง่ลบ ของ bitcoin และในเวลาต่อมาราคาก็มักจะตกลงทำให้คนที่ลงทุนใน bitcoin นั้นใจหายใจคว่ำกันเป็นแถบ ๆ ซึ่งพอข่าวลบ ๆ ผ่านไป ราคาของมันก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นมาอีก ซึ่งไม่ว่าราคาของ bitcoin มันจะขึ้นหรือจะลงเท่าไหร่ Pomp บอกว่ามันไม่สำคัญเลย นั่นก็เป็นเพราะ ตราบใดที่ทิศทางของมันยังคงเป็นขาขึ้นอยู่

จากภาพนี้เราจะเห็นได้ว่า ราคาของ bitcoin นั้นมีความผันผวนมาก บางช่วงขึ้นอย่างรุนแรง บางช่วงก็ลงอย่างรุนแรง แต่พอลองซูมภาพใหญ่ออกมาก็จะพบว่า ทิศทางมูลค่าของ bitcoin นั้น ยังคงเติบโตอยู่เรื่อย ๆ ถ้าเพียงแค่คุณซื้อและถือมันเอาไว้คุณก็จะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ในขณะที่หากคุณซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ มันมีโอกาสสูงมากที่คุณจะขาดทุน ดังนั้นมันไม่สำคัญว่า bitcoin จะมีความผันผวนมากน้อยเพียงใด แต่มันสำคัญที่ว่า ทิศทางของมันยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องหรือไม่ในระยะยาวต่างหาก

มุมที่สอง Pomp ได้ยกตัวอย่างจากข้อมูลการลงทุน ด้วยการลองจัดพอร์ตการลงทุนออกเป็น 2 แบบ โดยเขาได้ยกตัวอย่างการลงทุนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยหากเริ่มต้นลงทุนในปี 2015 – 2020 โดยให้จัดพอร์ทการลงทุนเป็นสัดส่วนอยู่ที่ 60:40

  • พอร์ทการลงทุนแบบแรก – ลงทุนในหุ้น 60% และอีก 40% ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล คุณจะได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 7.2% ต่อปี ในช่วง 5 ปีดังกล่าว
  • พอร์ทการลงทุนแบบที่สอง – ลงทุนในหุ้น 59.5%, ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 39.5% และลงทุนใน bitcoin 1% คุณจะได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 9.2% ต่อปี

จะเห็นได้ว่าพอร์ทในแบบที่สองที่เจียดเงินไปลงทุนใน bitcoin เพียงแค่ 1% แต่กลับส่งผลให้พอร์ทการลงทุนมีผลตอบแทนมากกว่าแบบแรกถึง 2% ในขณะที่ความเสี่ยงในกรณีเลวร้ายที่สุดเลยคือหาก bitcoin ราคาเป็นศูนย์ พอร์ทการลงทุนของคุณกำไรจะลดลง 0.2% ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า ถ้ามองในด้าน upside เทียบกับ downside คือการมองในมุมการได้กำไรเทียบกับมุมขาดทุน ก็จะพบว่า มันมีอัตราส่วนอยู่ที่ 2% : 0.2% หรือ 10 : 1 นั่นเอง นั่นก็คือ หากคุณเจียดเงินของพอร์ทการลงทุนของคุณไปใน bitcoin เพียง 1% ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก็แค่ 1 ใน 10 เท่านั้นเมื่อเทียบกับโอกาสที่จะได้กำไรจากการลงทุนนี้ในช่วง 5 ปีดังกล่าว

ซึ่งแย่สุดคือหากเงินลงทุนใน bitcoin เป็นศูนย์ คุณก็จะเสียเงินไปแค่เพียง 1% ของพอร์ททั้งหมด ซึ่งสำหรับคนส่วนใหญ่แล้วมันไม่ได้เป็นมูลค่าความเสี่ยงที่มากมายอะไรเลย เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ที่จัดพอร์ทแบบนี้ พวกเขามักจัดให้ใน 1% นั้น ไปลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะอยู่แล้ว

แต่คนส่วนใหญ่ที่มักจะเข้ามาในตลาดนี้ก็เข้ามาเพื่อเก็งกำไร พอเห็นความผันผวน เห็นราคาขึ้นลงอย่างรุนแรง ก็กะว่า ถ้าฉันเข้าถูกจังหวะ ซื้อถูกขายแพงแล้วล่ะก็ ฉันก็จะสามารถเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ในชั่วข้ามคืน ซึ่งแน่แหละว่ามีคนที่สามารถทำเงินล้านจากการทำแบบนี้ได้ แต่จะมีสักกี่คนกันเชียว ในขณะที่คนส่วนใหญ่มักจะขาดทุนซะมากกว่า

ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนใน bitcoin นั้นก็เพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน แต่หากคุณเข้ามาลงทุนในตลาดนี้สักพักคุณก็จะค่อย ๆ เริ่มมองเห็นแล้วว่า เพราะเหตุใดถึงควรใส่เงินเอาไว้ใน bitcoin เพราะถ้าหากคุณเข้าใจใน fiat currency, เข้าใจ economic หรือหลักของเศรษฐศาสตร์, เข้าใจในเรื่องของ personal finance หรือเรื่องการเงินส่วนบุคคลแล้วล่ะก็ คุณก็จะตระหนักได้ว่า คุณไม่ควรเก็บเงินไว้ในรูปของเงินสด

และเหล่าบรรดาสถาบันการเงินต่าง ๆ ก็เริ่มมองเห็นแล้วว่า พวกเขาไม่ควรเก็บเงินสดเอาไว้ เพราะมันมีแต่จะด้อยค่าลง ดังนั้นในช่วงนี้คุณจะเห็นได้ว่า เหล่าบรรดาบริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมไปถึงสถาบันการเงินระดับยักษ์ใหญ่เริ่มเข้าซื้อ bitcoin เข้าไปไว้ใน balance sheet หรืองบดุลของบริษัท ซึ่งคนที่เห็น bitcoin เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วก็คงไม่มีใครคาดคิดหรอกว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะแต่ก่อนมีแต่คนบอกว่า bitcoin มันเป็นแชร์ลูกโซ่บ้างล่ะ, มันเป็นเงินหลอกลวงบ้างล่ะ หรือมันเป็นเงินขำ ๆ จับต้องไม่ได้บ้างล่ะ ซึ่งถ้าคุณลองถอยออกมาแล้วเอาอคติวางลงไว้ก่อน แล้วลองตั้งคำถามกับตนเองว่า ทำไมเหล่าสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ต่างเข้าซื้อ bitcoin กันล่ะ? เขาซื้อกันเล่น ๆ หรือไม่? ถ้ามันเป็นแชร์ลูกโซ่จริง ๆ พวกเขาจะเข้ามาซื้อ bitcoin ทำไม?

ซึ่ง bitcoin ถือได้ว่าเป็น Asset เป็นทรัพย์สินที่มีอัตราการเติบโตที่ดีที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุดตั้งแต่ที่ถือกำเนิดมนุษยชาติมาเลยก็ก็ว่าได้ ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบนี้ เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับเทคโนโลยีอย่างอินเตอร์เน็ต โดยที่อินเตอร์เน็ตมันเติบโตเร็วมากนั่นก็เป็นเพราะ มันถูกสร้างขึ้นมาบนโครงสร้างของการเชื่อมต่อการสื่อสารของเทคโนโลยีก่อนหน้านี้อย่างสายโทรศัพท์ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลก และ bitcoin ก็สร้างขึ้นบนอินเตอร์เน็ตอีกทีหนึ่ง

ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า เพราะเหตุใด bitcoin จึงเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะมันมี infrastructure มันมีระบบโครงสร้างพื้นฐานของการสื่อสารก่อนหน้านี้มาก่อน และอย่างประเทศจีนก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสร้างบริษัท Tech Company ยักษ์ใหญ่ได้อย่างมากมาย และนอกจากนั้นเหล่าบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกอย่าง Google, Amazon หรือ Facebook ที่พวกเขาได้มีการทุ่มเงินหลายล้านล้านดอลล่าร์ฯ เพื่อลงทุนไปกับการสร้างโครงสร้างที่สามารถทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้

และเมื่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนเข้าสู่โลกออนไลน์ และก็มีเงินดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นมา มันก็ทำให้โครงสร้างของการเงินเปลี่ยนไปจากระบบแบบเดิม ๆ อย่างประเทศ El Salvador ที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเงินนี้ พวกเขาก็เริ่มกระโดดจากระบบการเงินแบบเดิม ๆ เข้าสู่ระบบการเงินแบบใหม่ ที่ทำให้ประเทศ El Salvador กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ให้สามารถใช้ bitcoin ชำระหนี้ได้ถูกต้องตามกฎหมาย และก็ดูเหมือนว่ากำลังไปได้สวยเลยทีเดียว ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นถึงในช่วงที่มีการเปลี่ยนถ่ายทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านของการเงิน ซึ่งแน่นอนแหละว่าการมาของ bitcoin นั้น ก็ส่งผลกับผู้ที่ถืออำนาจทางการเงินในยุคดั้งเดิมเกิดความไม่ชอบใจในสิ่งนี้

โดย Tom Bilyeu ก็ได้เสริมว่า ในฝั่งของเขาก็ได้ศึกษาโลกของ crypto เช่นกัน โดยเฉพาะในวงการ NFT : Non Fungible Token เขาก็ได้ใช้หลักการการมองความผันผวนเช่นเดียวกันกับ Pomp ที่เขาไม่ได้ตื่นตกใจเวลาที่ราคาของมันขึ้น ๆ ลง ๆ ตราบใดที่ทิศทางของมันยังคงเติบโตอยู่ในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่เขารู้สึกก็คือ เมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาของมันขึ้น เขาก็จะดีใจเพราะมันทำให้เขามั่งคั่งมากกว่าเดิม และในขณะเดียวกันเวลาที่ราคาของมันตกลงมา แทนที่เขาจะตื่นตระหนกและเครียด ก็กลับกลายเป็นว่า เย้! ราคาของมันลงมาแล้ว ฉันจะได้เข้าซื้อในราคาที่ถูกลง เพราะเขาเห็นแล้วว่า แม้ว่าราคาของมันจะลงแต่มันก็จะไม่ลงไม่มากกว่านี้แล้ว เพราะทิศทางของมันยังคงเติบโตอยู่ และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า เพราะเหตุใด ความผันผวนที่รุ่นแรงนั้น ไม่ได้มีผลกับพวกเขาในระยะยาว

แต่ก็อย่าลืมนะครับว่า นี่คือความเห็นจากประสบการณ์ส่วนตัวของ Anthony Pompliano กับ Tom Bilyeu เท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน แล้วมาติดตามกันต่อใน Episode ถัดไปนะครับ


กระดานซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin & Cryptocurrency

อันดับ 1 ของไทย คนส่วนใหญ่นึงถึง Bitkub

อันดับ 1 ของโลก คนส่วนใหญ่นึกถึง Binance


*หมายเหตุ : คอนเท้นต์นี้ไม่ใช่การแนะนำในการลงทุน เป็นการจัดทำเพื่อเป็นกรณีศึกษาจาก Raoul Pal เท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาและตัดสินใจลงทุนด้วยตัวท่านเอง

Resources

Image credit